ส่วนประกอบของระบบสายพานโมดูลาร์
1. โครงสร้าง (Conveyor Structure) ของระบบสายพาน อาจใช้เป็น โครงเหล็กสำหรับงานทั่วไป และใช้เป็น โครงสร้าง Stainless สำหรับงานในอุตสาหกรรมอาหาร (Stainless Structure) ส่วนที่ใช้เป็นฐานรองรับสายพานจะเป็น Wear Strip ซึ่งจะรองรับน้ำหนักทั้งหมดของระบบ รวมทั้งน้ำหนักสายพาน และน้ำหนักวัสดุที่บรรทุก ระบบโครงสร้าง (Conveyor Structure) ส่วนนี้ท่านสามารถทำเองได้ไม่ยากไม่ซับซ้อน เพราะใช้เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องเชื่อมก็ทำงานได้แล้วถ้าเคยทำ Mini Conveyor หรือระบบสายพานPVC แล้วโครงสร้างของระบบสายพาน Modular Belt ง่ายกว่าเยอะเลย
2. ระบบขับเคลื่อน (Drive Unit) คือ มอเตอร์และเกียร์ ท่านสามารถซื้อตรงกับผู้ขาย หรือตัวแทนผู้ผลิตได้ประหยัดเงินได้ไปส่วนหนึ่ง
3. อุปกรณ์และชิ้นส่วนอื่นๆ (other Component) ก็มีตัวสายพาน(Modular Belt)และ “Wear Strip” และ Sprocket ทั้งสามสิ่งเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่สั่งซื้อกับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ก็เป็นอันเรียบร้อย ที่ท่านต้องทำเองคือเพลา (Shaft) สี่เหลี่ยมมีงาน Machine คืองานกลึงมาเกี่ยวข้องบ้าง ขนาดของเพลาก็ตามขนาดรูของ Sprocket (มีแค่เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องเชื่อม ไม่เพียงพอ) ซึ่งต้องอาศัยฝีมือและความรู้พอประมาณในการผลิต ถ้าท่านทำเองได้ก็ดี แต่ถ้าทำไม่ได้ ท่านสามารถ จ้างร้านข้างนอกทำแล้วนำมาประกอบเองจะประหยัดค่าขนส่งและติดตั้งได้
-
ระบบสายพานลำเลียงแบบ Modular นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เนื่องจากตัวสายพานเป็นแบบข้อต่อ จึงสามารถระบายน้ำได้ดีกว่าสายพานแบบ PVC หรือ PU และการต่อสายพานก็สะดวกและง่ายกว่า……..
-
ในอุตสาหกรรมทั่วไป ขั้นตอนการผลิตนั้นมักจะมีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การอบชิ้นงานในการผลิตชิ้นงานยางพารา ซึ่งอาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 70-100 °C เลยทีเดียว ดังนั้น สายพานที่ใช้ใน...